Integrity Legal - Law Firm in Bangkok | Bangkok Lawyer | Legal Services Thailand Back to
Integrity Legal

Legal Services & Resources 

Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.

Contact us: +66 2-266 3698

info@integrity-legal.com

ResourcesVisa & Immigration LawUS Immigration Lawวีซ่าอเมริกา: อธิบายถึงการดำเนินการเกี่ยวกับกงสุล

วีซ่าอเมริกา: อธิบายถึงการดำเนินการเกี่ยวกับกงสุล

Please see English language transcript at: Consular Processing

วีดีโอฉบับนี้จะกล่าวถึงกระบวนการของ สถานกงสุลหรือหน่วยกงสุลของสหรัฐฯในประเทศไทยซึ่งโดยทั่วไปจะดูแลเรื่องวีซ่าหลายชนิดเช่นวีซ่า E-2 หรือ EB-5 แต่วันนี้จะพูดในแง่ของวีซ่าครอบครัวเช่นวีซ่าคู่สมรสหรือวีซ่าคู่หมั้น

ถ้าจะสรุปง่ายๆ กระบวนการเกี่ยวกับการเข้าเมืองของสหรัฐฯ จะมองว่ามีหลายขั้นตอน ซึ่งองกรณืที่เกี่ยวข้องหลักๆ จะมี หน่วยงานสัญชาติและการเข้าเมือง ของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ จากนั้นคำร้องส่วนใหญ่จะผ่านการตรวจสอบโดยศูนย์วีซ่าแห่งชาติ ซึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงการต่างประเทศแต่สำนักง่านตั้งอยู่ในสหรัฐฯ ที่จริงหน่วยวีซ่าจัติหน้าที่คล้ายกับกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ เมื่อศูนย์วีซ่าตรวจเอกสารเรียบร้อยแล้ว คำร้องจะได้ถูกส่งไปที่สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลในต่างประเทศที่เป็นที่อยู่อาศัยของภรรยาหรือคู่หมั้นชาวต่างประเทศ หรือส่งไปยังประเทศที่ชาวต่างประเทศผู้นั้นอาศัยอยู่ (ในเอเชียจะพบแรงงานที่ทำงานในประเทสเพื่อนบ้านเป็นจำนวนมากเช่น คนฟิลิปปินส์ทำงานที่มาเลย์หรือสิงคโปร์หรือในประเทศไทยและการส่งไปประเทศที่อาศัยอยู่ณ.เวลานั้นจะเป็นสิ่งที่สะดวกสำหรับ คู่หมั้นและคู่สมรสชาวต่างชาติผู้นั้น)  ซึ่งขั้นตอนของกงสุลคือขั้นตอนสุดท้าย เพราะฉะนั้น คำร้องจะผ่านการตรวจของ หน่วยงานที่ให้บริการด้านพลเมืองและการอพยพ (USCIS) เมื่อรับอนุมัติคำร้องจะผ่านไปให้นศูนย์วีซ่าแห่งชาติตรวจเอกสารและส่งไปที่สถานเอกอัครราชฑูตหรือสถานกงสุลในต่างประเทศ สถานเอกอัครราชฑูตและสถานกงสุลนั้นจะต้องตรวจเอกสารอย่างเคร่งครัด  สถานทูตต่างประเทศจะมีหน่วยป้องกันการหลอกลวงซึ่งหน่วยนี้ได้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อคัดคนที่กำลังหลอกลวงประเทศออก เพราะฉะนั้นหากคำร้องนั้นเป็นคำร้องขอวีซ่าครอบครัว เจ้าหน้าที่อาจจะตรวจดูว่าการสมรสเป็นเพียงในนามอย่างเดียวหรือไม่ หรือตรวจดูว่าผู้ที่จะแต่งงานจะสมรสเพื่อเหตุผลที่ต้องห้ามหรือไม่ นอกจากนี้เจ้าหน้ที่กงสุลจะต้องตรวจผู้สมัครด้วย

สิ่งที่ควรทราบคือ กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิโดย USCIS จะตรวจสอบเกี่ยวกับคู่หมั้นหรือคู่สมรสที่เป็นชาวอเมริกันที่อาศัยอยู่ในสหรัฐฯเท่านั้น โดยตรวจว่า ผู้ที่ยื่นเรื่องขอวีซ่าเป็นพลเมืองอเมริกันจริงหรือไม่(เพราะถ้าไม่ใช่พลเมืองอเมริกัน จะไม่สามารถยื่นคำร้องขอวีซ่าคู่หมั้นได้) นอกจากนี้กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิก็จะตรวจเรื่องชาวต่างชาติว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นผู้ก่อการร้ายหรือไม่ หรืออยู่ในแบล็คลิสหรือไม่เป็นต้น แต่ไม่ได้เจาะถึงรายละเอียดของผู้ยื่นคำร้องซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศโดยสถานกงสุล มีข้อกำหนดอยู่ข้อหนึ่งเรื่องการที่จะขอวีซ่าคู่หมั้นคือคู่หมั้นทั้งคู่จะต้องเคยพบเจอกันอย่างน้อย 1 ครั้งภายในสองปีก่อนยื่นคำร้องขอสิทธิประโยชน์ของวีซ่าคู่หมั้น และหน่วยงานป้องกันการหลอกลวงและกงสุลในต่างประเทศจะสัมภาษณ์เพื่อตรวจสอบว่าคู่หมั้นทั้งคู่ยังมีการติดต่อกันหรือไม่ เพื่อดูว่าความสัมพันธ์เป็นจริงหรือไม่และเป็นความสัมพันธ์ที่ไมใช่เพียงในนามอย่างเดียว นอกจากนี้หน่วยป้องกันการหลอกลวงจะต้องตรวจเกี่ยวกับคดีอาชญากรรมที่ค้างอยู่หรือที่เคยมีเช่นคดียาเสพติดหรืออาชญากรรมอื่นๆ เพราะฉะนั้น ผู้ยื่นคำร้องต้องเตรียมตัวเกี่ยวกับการตอบคำถามเหล่านี้ ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งเกี่ยวกับคำร้องคือ ถิ่นที่อยู่อาศัย เจ้าหน้าที่ต้องการทราบว่าพลเมืองอเมริกันผู้นี้ตั้งใจจะกลับไปอาศัยอยู่ในสหรัฐฯจริงหรือไม่และจะพาคู่สมรสไปอยู่ด้วยหรือไม่ ซึ่งจะเป็นหนึ่งในคำถามตอนสัมภาษณ์  สถานกงสุลบางประเทศอาจจะมีคำถามที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ บางประเทศอาจมีปัญหาภายในเช่นอาจมีสงครามซึ่งจะต้องเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงส่วนหนึ่ง แต่โครงสร้างโดยรวมจะจะคล้ายกัน อีกด้านหนึ่งที่อาจมีการแตกต่างกันคือการพิสูจน์อัตลักษณ์ของแต่ละประเทศเพราะในบางประเทศอาจง่ายและสามารถตรวจสอบได้ว่าผู้ยื่นคำร้องสามารถสมรสได้จริงหรือไม่เช่นในประเทศไทยมีทะเบียนราษฎร์ซึ่งประเทศอื่นอาจจะไม่มีทะเบียนราษฎร์เป็นต้น

มีหลายคนเข้าใจว่าการเข้าสัมภาษณ์คือขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการทั้งหมดแต่ในความเป็นจริง อาจไม่จบกระบวนการ เพราะเจ้าหน้าที่กงสุลอาจพบข้อมูลที่เป็นเหตุที่ต้องไม่อนุมัติวีซ่า เจ้าหน้าที่อาจพบข้อมูลบางประการ เช่นเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่จริง เพราะจะสมรสเพื่อได้รับสัญชาติอเมริกันเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีเหตุผลทางกฎหมายที่จะต้องปฏิเสธการเข้าประเทศ (แต่สามารถยื่นคำร้อง I 601 เพื่ออธิบายสถานการณ์ได้) นอกจากนี้เจ้าหน้าที่อาจยื่นหมาย 221-g เพื่อขอเอกสารเพิ่มเติม เช่นพาสปอร์ตที่ใช้อยู่ใกล้หมดอายุเป็นต้น  (มีวีดีโออีกเรื่องหนึ่งที่จะพูดถึงหมาย 221-g) เหตการณืเหล่านี้เกิดขึ้นได้ และไม่ถือเป็นสิ่งืที่ต้องทำให้ตระหนก เพียงแต่เตรียมเอกสารเพิ่มเติมตามหมาย 221-g เพื่อให้วีซ่าได้รับการอนุมัติ